ตัวชี้วัดทางการศึกษาด้านความสามารถในการแข่งขัน
ตัวชี้วัดทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดด้านการศึกษา[1]
ตัวชี้วัดทางการศึกษาที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) ตัวชี้วัดทางการศึกษาที่สะท้อนคุณภาพและประสิทธิภาพทางการศึกษา โอกาสทางการศึกษาและความสามารถทางการแข่งขัน และ (2) ข้อมูลพื้นฐานที่สนับสนุนการวางแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ตัวชี้วัดทางการศึกษา ประกอบด้วย
- ตัวชี้วัดด้านคุณภาพและประสิทธิภาพทางการศึกษา
– ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
– อัตราการอ่านออกเขียนได้
– อัตราส่วนนักเรียนต่อครู
- ตัวชี้วัดด้านโอกาสทางการศึกษา
– อัตราการเข้าเรียนจำแนกตามระดับการศึกษา
– สัดส่วนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีวศึกษาต่อนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
- ตัวชี้วัดด้านความสามารถทางการแข่งขัน
– ร้อยละของวุฒิการศึกษาของแรงงาน
– จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชาการ
กลุ่มที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานที่สนับสนุนการวางแผนการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่
- จำนวนสถาบัน/สถานศึกษา
- อัตราการเพิ่ม/ลดของประชากร
[1] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา แผนที่การพัฒนาจังหวัดของประเทศไทยด้านการศึกษา สิ่งพิมพ์ สกศ. อันดับที่ 24/2557 กันยายน 2557
- ตัวชี้วัดด้านความสามารถทางการแข่งขันการพัฒนาการศึกษาและศักยภาพของประชากรในประเทศให้มีความรู้ ตลอดจนการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นปัจจัยหนึ่งของความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงศักยภาพของประชากรที่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้
ตัวชี้วัดด้านความสามารถทางการแข่งขัน ประกอบด้วย 1) ร้อยละของวุฒิการศึกษาของแรงงาน
และ 2) จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากร
1) ร้อยละของวุฒิการศึกษาของแรงงาน
– ร้อยละของแรงงานที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในภาพรวมของประเทศ เท่ากับร้อยละ 17.90 ภาพรวมในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 เท่ากับร้อยละ 19.76 โดยจังหวัดปทุมธานี มีร้อยละมากที่สุด เท่ากับ 21.86 รองลงมา คือ สระบุรี ร้อยละ 21.16 พระนครศรีอยุธยา ร้อยละ 20.14 และนนทบุรี ร้อยละ 16.91 ตามลำดับ
– ร้อยละของแรงงานที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในภาพรวมของประเทศเท่ากับร้อยละ 16.05 ภาพรวมในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 เท่ากับร้อยละ 21.81 โดยจังหวัดปทุมธานี มีร้อยละมากที่สุด เท่ากับ 26.47 รองลงมา คือ พระนครศรีอยุธยา ร้อยละ 22.30 นนทบุรี ร้อยละ 19.50 และสระบุรี ร้อยละ 16.26 ตามลำดับ
– ร้อยละของแรงงานผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในภาพรวมของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 17.04 ภาพรวมในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 เท่ากับร้อยละ 25.92 โดยจังหวัดนนทบุรี มีร้อยละ มากที่สุด เท่ากับ 35.09 รองลงมา คือ ปทุมธานี ร้อยละ 22.91 พระนครศรีอยุธยา ร้อยละ 21.48 และสระบุรี ร้อยละ 17.26 ตามลำดับ
2) จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากร